เมนู

ความย่อยยับเพราะถูกความร้อน ปรากฏ (ชัด) ในอเวจีมหานรก.
ความย่อยยับเพราะความหิว ปรากฏ. (ชัด) ในเปรตวิสัย และในเวลา
เกิดข้าวยากหมากแพง. ความย่อยยับเพราะความระหาย ปรากฏ (ชัด)
ในอบายภูมิมีกาฬกัญชิกาอบายภูมิเป็นต้น.

กาฬกัญชิกอสูร


เล่ากันว่า กาฬกัญชิกอสูรตนหนึ่ง ไม่สามารถจะทนความ
ระหายได้ จึงลงมายังแม่น้ำมหาคงคา ซึ่งลึกและกว้างประมาณ
1 โยชน์ (ปรากฏว่า) ในที่ที่อสูรตนนั้นไปถึงน้ำแห้งหมด (มีแต่) ควัน
พลุ่งขึ้น เวลานั้นคล้ายกับว่าอสูรได้เดินกลับไปกลับมาอยู่บนหินดาด
ที่ร้อนระอุ. เมื่ออสูรนั้นได้ฟังเสียงน้ำแล้ว วิ่งไปวิ่งมาอยู่ (อย่างนั้น)
นั่นแล ราตรีก็สว่าง (พอดี). เวลานั้น พระผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตรประมาณ 30 รูป กำลังเดินจะไปบิณฑบาตแต่เช้าตรู่ เห็น
เปรตนั้นเข้าจึงถามว่า "โยม โยมเป็นใคร ?"
"กระผมเป็นเปรต ขอรับ " เปรตตอบ
"โยมกำลังหาอะไรอยู่เล่า ?" พระถาม
" น้ำดื่ม ขอรับ"
"แม่น้ำคงคานี้ (มีน้ำ) เต็มเปี่ยม โยมมองไม่เห็นหรือ ?"
"แม่น้ำไม่สำเร็จ (ประโยชน์) เลย พระคุณเจ้า"
"ถ้าอย่างนั้น ขอให้โยมนอนลงบนพื้นแม่น้ำคงคาเถิด ปวงอาตมา
จะตักน้ำดื่มเทลงไปในปากของโยม"

เปรตนั้นได้นอนหงายลงบนหาดทราย. พระได้นำบาตรทั้ง
30 ใบ ออกมา (ผลัดกัน) ตักน้ำเทลงไปในปากของเปรตนั้น. เมื่อ
พระเหล่านั้นทำอยู่อย่างนั้น เวลา (บิณฑบาฑ) ก็ใกล้เข้ามา. ครั้งนั้น
พระทั้งหลายจึงพูดว่า ได้เวลาบิณฑบาตของปวงอาตมาแล้วโยม
โยมพอได้ความสบายใจแล้วใช่ไหม ?
เปรตเรียนว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ถ้าว่าน้ำประมาณ
ครึ่งฟายมือจากน้ำที่พระคุณเจ้าประมาณ 30 รูป เอาบาตรทั้ง
30 ใบ ตักเทให้โยมไหลเข้าไปในคอของโยมเหมือนอยู่ในคอของ
คนอื่นไซร้ ขอให้โยมจงอย่าได้พ้นไปจากอัตภาพเปรตเลย.
ความย่อยยับเพราะความระหายปรากฏ (ชัด) ในเปรตวิสัย
ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.
ความย่อยยับเพราะเหลือบเป็นต้น ปรากฏ (ชัด) ในประเทศ
ทั้งหลายที่มากด้วยเหลือบและแมลงเป็นต้น. ก็ในบทเหล่านี้พึงทราบ
อธิบายดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ฑํสา ได้แก่ เหลือบ.
บทว่า มกสา ได้แก่ ยุงนั่นเอง.
แม้ลมทั้งหลายก็พึงทราบว่ามีลมในท้อง และลมที่สันหลัง
เป็นต้น. เพราะว่าโรคลมเกิดขึ้นในร่างกายแล้ว ย่อมทำลายมือเท้า
และหลังเป็นต้น ย่อมทำให้เป็นคนตาบอด ทำให้เป็นคนค่อม ทำให้เป็น
คนง่อยเปลี้ย.
บทว่า อาตโป แปลว่า แสงแดด. ความย่อยยับเพราะแสงแดดนั้น
ปรากฏ (ชัด) ในทางกันดารทั้งหลายมีทางกันดารทะเลทรายเป็นต้น.

มีเรื่องเล่าว่า หญิงคนหนึ่งเหนื่อยล้าจากการเดินทางด้วย
กองเกวียนในทางกันดารทะเลทรายตลอดทั้งคืน ครั้นถึงเวลากลางวัน
เมื่อพระอาทิตย์อุทัยทรายร้อนระอุ นางไม่สามารถจะวางเท้าลงไปได้
จึงเอาตะกร้า (ที่เทินมา) ลงจากศีรษะแล้วเหยียบไว้ เมื่อตะกร้า
ร้อนมากเข้า ๆ โดยลำดับ นางก็ไม่สามารถ (เหยียบ) ยืนอยู่ได้ จึง
วางผ้าลงบนตะกร้านั้นแล้วเหยียบ เมื่อผ้าแม้นั้นร้อน นางจึงจับลูกน้อยที่
อุ้มมาให้นอนคว่ำหน้าลงแล้ว (ยืน) เหยียบลูกน้อยซึ่งส่งเสียงร้องไห้
จ้าอยู่ (นาง) ถูกความร้อนแผดเผา (ไม่ช้า) ก็ขาดใจตายในที่นั้นเอง
พร้อมกับลูกน้อย (ของนาง) นั้น.
บทว่า สิรึสปา ได้แก่ สัตว์ตัวยาวทุกชนิดที่เลื้อยคลานไป
ความย่อยยับเพราะสัมผัสของสัตว์ตัวยาวเหล่านั้น พึงทราบด้วย
อำนาจแห่งเหตุมีถูกอ.. .พิษขบกัดเป็นต้น.

ลักษณะ 2


ธรรมทั้งหลายมีลักษณะอยู่ 2 ลักษณะ คือ สามัญญลักษณะ
(ลักษณะทั่วไป) 1 ปัจจัตตลักษณะ (ลักษณะเฉพาะตัว) 1 บรรดา
ลักษณะทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปัจจัตตลักษณะของ
รูปขันธ์ไว้เป็นอันดับแรกด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้. ก็
ปัจจัตตลักษณะนี้มีแก่รูปขันธ์เหล่านั้น หามีแก่ขันธ์ทั้งหลาย (นอกนี้)
มีเวทนาขันธ์เป็นต้นไม่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ปัจจัตตลักษณะ.
ส่วนอนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ ย่อมมีแก่ขันธ์
ทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นด้วย เพราะฉะนั้น ลักษณะทั้ง 3 นั้นจึงเรียกว่า
สามัญญลักษณะ